Sodium Tripolyphosphate (STPP) (Thailand) : โซเดียม ไตรโพลีฟอสเฟต (เอสทีพีพี) (ไทย)
รหัสสินค้า : PTC10-00003
ราคา |
0.00 ฿ |
จำนวนที่จะซื้อ | |
ราคารวม | 0.00 ฿ |
ขนาด : 25 Kg
Cas No. 7758-29-4
เกรด : อาหาร /Food grade
ลักษณะผลิตภัณฑ์ : ผงสีขาวไม่มีกลิ่น
แหล่งกำเนิด : ไทย
รายละเอียดของสินค้า
Sodium tripolyphosphate (STPP) เป็นเกลือโซเดียมของกรดไตรฟอสฟอริก มีลักษณะเป็นผงหรือเม็ดสีขาว ละลายน้ำได้ ผลิตได้จากปฏิกิริยาระหว่างโซเดียมไฮดรอกไซด์กับกรดฟอสฟอริก STPP ไม่ใช่โซดาไฟ โซดาไฟคือโซเดียมไฮดรอกไซด์ - เป็นด่างแก่ STPP เป็นสรที่ทำให้การระคายเคืองเมื่อมีการสัมผัส
STPP ใช้มากในการผลิตผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ใช้ทั้งในอุตสาหกรรมและบ้านเรือน ผลิตภัณฑ์อาหาร อาหารสัตว์ โลหะ สี เยื่อกระดาษ และเซรามิกส์ แต่ที่ใช้กันมากจะเป็นการผลิตผงซักฟอก ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดห้องน้ำและพื้นผิวต่าง ๆ โดย STPP มีคุณสมบัติลดความกระด้างของน้ำช่วยให้การซักล้างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เป็นสารบัฟเฟอร์ จับคราบสกปรกและกันไม่ให้สิ่งสกปรกย้อนกลับมาติดพื้นผิวอีก
สำหรับในอุตสาหกรรมอาหารจะช่วยเพิ่มการอุ้มน้ำของเนื้อสัตว์และอาหารทะเล ป้องกันโปรทีนเสื่อมคุณภาพ รักษาสีสรรของผลิตภัณฑ์
ลดการ เกิดเจลในน้ำผลไม้ และเนื้อแฮมกระป๋อง และทำให้ถั่วประป๋องมีความอ่อนนุ่ม, ลดการเหี่ยวย่นในอาหารจำพวกไส้กรอก สามารถเรียกชื่อได้อีกอย่างว่า เพนตะโซเดียม ไตรโพลีฟอสเฟต และโซเดียม ไตรฟอสเฟต ลดความกระด้างของน้ำ ข่วยให้ซักล้างมีประสิทธิภาพเป็นสารบัฟเฟอร์จับคราบสกปรก และกันไม่ให้สิ่งสกปรกย้อนกลับ มาติดผิวอีก เหมาะสำหรับงาน ทำความสะอาด Textile industries, Metal cleaning. sodium tripolyphosphate (STPP) เป็นเกลือโซเดียมของกรดไตรฟอสฟอริก มีลักษณะเป็นผงหรือเม็ดสีขาว ละลายน้ำได้ ผลิตได้จากปฏิกิริยาระหว่างโซเดียมไฮดรอกไซด์กับกรดฟอสฟอริก STPP ไม่ใช่โซดาไฟ โซดาไฟคือโซเดียมไฮดรอกไซด์ - เป็นด่างแก่STPP เป็นสารที่ทำให้การระคายเคืองเมื่อมีการสัมผัส STPP ใช้มากในการผลิตผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ใช้ทั้งในอุตสาหกรรมและบ้านเรือน ผลิตภัณฑ์อาหาร อาหารสัตว์ โลหะ สี เยื่อกระดาษ และเซรามิกส์ แต่ที่ใช้กันมากจะเป็นการผลิตผงซักฟอก ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดห้องน้ำและพื้นผิวต่าง ๆ
บทบาทของสารฟอสเฟตที่มีต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์เนื้อ คือ
การเพิ่มความนุ่ม โดยเป็นตัวทําให้ pH ของเนื้อเพิ่มขึ้นและช่วยให้โปรตีนของกล้ามเนื้อคลายตัว เนื่องจากสารเอคโดไมโอ
ซินแยกออกจากกับเป็นเอคดิน และไมโอซิน
เพิ่มรสชาติ โดยการทำให้โมเลกุลของเนื้อสานกันเป็นตาข่าย สามารถกันกั้นไม่ให้เลือดและของเหลวในเนื้อไหลออกมา เนื้อ จึงมีรสชาติดีขึ้น
ช่วยให้โมเลกุลเนื้อยึดเกาะกันดี โดยการดึงโมเลกุลโปรตีนที่ละลายน้ำได้มารวมตัวกันทำให้เนื้อเหนียวและยึดหยุ่นดีขึ้น ช่วย ปรับปรุงผลผลิตของเนื้อที่ใช้วิธีการหมักน้ำเกลือ
ช่วยให้สีคงทน โดยทำหน้าที่ควบคุม pH ให้อยู่ในช่วง pH 6.0 - 6.6 จึงทําให้เนื้อมีสีแดงคงทนดีขึ้น ซึ่งเป็นผลทำให้การไข่ ไนไตรท์และกรดแอสคอร์บิคคงตัวเพิ่มมากขึ้น แด็คุณสมบัติในด้านการให้สีที่คงตัวของสารฟอสเฟดมีผลด้อยกว่าการใช้กรดแอ สคอร์บิค และความสามารถนี้จะลดลงมาก ถ้ากระทบแสงสว่างจากหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์
กฎหมายกำหนดให้มีการเดิมฟอสเฟตได้ โดยให้มีเหลืออยู่ในผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายได้ไม่เกินร้อยละ 0.3 (3000 ppm) ในขณะที่เนื้อจะมีฟอสเฟตในธรรมชาติอยู่ประมาณร้อยละ 0.01 ดังนั้นการใช้สารเหล่านี้ในระหว่างการหนักต้องหักลบออกด้วย
ปัญหาในการใช้สารฟอสเฟต
สารฟอสเฟดสามารถกัดกร่อนโลหะได้ (corrosive) โดยธรรมชาติ อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ควรเป็นพลาสติก หรือสแตนเลส
สินค้าไม่เพียงพอ
สินค้าหมด